Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก : ผู้ถือหุ้น / ชุมชน / ลูกค้าและผู้บริโภค / หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม

ภายใต้แนวคิด ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ มิตรผลมุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐ ชุมชน เกษตรกร โรงเรียน และผู้ปกครองในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้อย่างรอบด้าน ทั้งการจัดการกับผลผลิตและการจัดจำหน่าย การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษาในท้องถิ่นให้มีคุณภาพก้าวทันโลก และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้คนรุ่นใหม่

มิตรผลจึงได้จัดตั้งฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ และฝ่ายบริหารการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองหลักขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมและชุมชน โดยกำหนดให้มีหน่วยงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ประจำอยู่ทุกพื้นที่โรงงานของมิตรผล ในขณะที่หน่วยงานบริหารการศึกษานั้นจะเป็นหน่วยงานส่วนกลางที่ทำงานควบคู่ไปกับพื้นที่ในแต่ละโรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก กระชับ สามารถตอบสนองความต้องการ สามารถเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนรอบโรงงาน จะช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและชุมชน เกิดความมั่นคงในอาชีพและอยู่ได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอาชีพเกษตรกรรมในทัศนคติของแรงงานรุ่นใหม่ ทำให้คนรุ่นใหม่กลับคืนสู่ท้องถิ่น ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งหมด

การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน 

มิตรผลขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถเลี้ยงตนเองได้และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ผ่านกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ให้ผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชน รูปแบบการดำเนินชีวิต ทุน และศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและองค์กร

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
การลดรายจ่ายในครัวเรือน (ด้านค่าอาหาร)
ร้อยละ 5
ร้อยละ 7
การเพิ่มรายรับภาคเกษตรของครัวเรือน
ร้อยละ 7
ร้อยละ 5
การพัฒนาธุรกิจชุมชนเชื่อมโยงกับ บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด
15 ธุรกิจ
17 ธุรกิจ
สร้างตำบลต้นแบบ
12 ตำบล
13 ตำบล

กรอบการดำเนินงาน

เป้าหมาย
พื้นที่เป้าหมาย
มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถเลี้ยงตนเองได้ และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
ชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ ครอบคลุม 23 ตำบล 320 หมู่บ้าน รวม 60,053 ครอบครัว
กรอบการดำเนินงาน
การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน
มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • เน้นการเปิดโอกาสให้รับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน และปฏิบัติ
  • การพัฒนาต่อยอดจากทุนและศักยภาพชุมชนที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ผ่านการขับเคลื่อนของคณะกรรมการตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา ที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานแผนพัฒนาตำบลกับหน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและร่วมจัดทำแผนพัฒนาตำบล
  • การพัฒนาระบบเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย
    มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • การส่งเสริมให้ชุมชนสร้างฐานอาหารของตนเองเพื่อให้ชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ด้วยการแบ่งพื้นที่ทำเกษตรผสมผสาน ปศุสัตว์ และประมง
  • การเสริมองค์ความรู้การทำเกษตรต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองลดการพึ่งพาจากภายนอก นำไปสู่การลดรายจ่ายด้านอาหารของครัวเรือนในระยะยาว
  • การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
    มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • การพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชน ได้แก่ สินค้าหัตถกรรม อาหารแปรรูป และผลผลิตอาหารปลอดภัยต่างๆ บนพื้นฐานของศักยภาพ ความสามารถและทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่
  • การพัฒนาองค์ความรู้การเกษตรควบคู่กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IOT ให้กับเกษตรกร จนสามารถพัฒนากระบวนการผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน PGS ปลูกเพาะสุข และ GAP รวมถึงพัฒนาความรู้ทางการตลาด
  • ผลการดำเนินงาน

    ฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม “บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริหารจัดการผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ

    เป็นตัวกลาง

    ระหว่าง "คู่ค้า" และ "เกษตรกร"

    เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกร

    ตั้งแต่การเพาะปลูก การวางแผนการตลาด การกำหนดราคา เพื่อให้เกษตรกรขายสินค้าได้ในราคาที่ดีที่สุด

    จัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า

    ให้กับเกษตรกร

    บริษัทฯ มีการจ้างงานผู้พิการในชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และยังจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์และบริหารจัดการผลผลิตของชุมชน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้สังคมมีการรับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการสนับสนุนผู้พิการในชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืนในอนาคต

    ปี พ.ศ.2566 บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด มีเงินรายได้หมุนเวียนรวมมากกว่า 900,000 บาท เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

    ด้านการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน

    ครัวเรือนอาสาเข้าร่วมโครงการ

    จำนวน

    ครัวเรือน
    1000

    คณะกรรมการตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา

    จำนวน

    คน
    500

    ศูนย์เรียนรู้ตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา

    จำนวน

    แห่ง
    100

    ดำเนินโครงการชุมชนเข้มแข็งด้วยแรงผู้โดยมีการจ้างงานพนักงานผู้พิการ​

    จ้างงานผู้พิการตามมาตรา 33 จำนวน

    คน
    200

    โดยปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จำนวน 50 คน และร่วมทำงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนในชุมชน และศูนย์เรียนรู้ตำบลมิตรผล

    จัดตั้งชมรมคนพิการจำนวน

    ชมรม
    50

    เพื่อเป็นการร่วมกันพัฒนากระบวนการรวมกลุ่ม ทักษะความรู้ และจัดสวัสดิการให้กับผู้พิการภายในชุมชนร่วมกับประสานงานกับหน่วยงานภาคีในการร่วมพัฒนาผู้พิการ 

    ด้านการพัฒนาระบบเกษตรและอาหารปลอดภัย 

    เกิดกลุ่มปลูกผัก

    จำนวน

    กลุ่ม
    100

    มีสมาชิกผู้ปลูกผักปลอดภัย

    จำนวน

    คน
    500

    มีรายได้หมุนเวียนจากการปลูกผักปลอดภัย

    รวมทั้งหมด

    บาท
    800000

    ด้านระบบเศรษฐกิจชุมชน

    เกิดกลุ่มอาชีพ

    จำนวน

    กลุ่ม
    100

    มีรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน

    รวม

    คน
    2000000

    การขับเคลื่อนงานชุมชนสัมพันธ์

    การขับเคลื่อนงานชุมชนสัมพันธ์ของมิตรผล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบและสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับชุมชน ปัจจุบันดำเนินโครงการในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร และอำนาจเจริญ คู่ขนานไปพร้อมกับการดำเนินงานพัฒนาชุมชน

    กรอบการดำเนินงาน

    เป้าหมาย
    พื้นที่เป้าหมาย
    สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบและสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับชุมชน
    ชุมชนในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด ยโสธรและอำนาจเจริญ
    กรอบการดำเนินงาน
    การรับฟังและเข้าใจความต้องการของชุมชน
    มิตรผลมีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนโดยรอบเพื่อให้สามารถระบุโครงการที่เหมาะสมและตอบโจทย์ได้จริง
    การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    มิตรผลจะทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งและยั่งยืน
    การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
    โครงการที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
    การติดตามและประเมินผล
    มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่ดำเนินการไปนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการได้จริง
    การสื่อสารและรายงานผล
    มิตรผลจะมีการสื่อสารและรายงานผลการดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบอย่างโปร่งใสและต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินงาน  

    กิจกรรม
    การดำเนินงาน
    การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทและชุมชน
  • การสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจและสนับสนุนกิจกรรมของบริษัทผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดเสวนา การให้หน่วยงานภายนอกเข้าเยี่ยมชมโรงงาน โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 รับทราบและเข้าใจกระบวนการทำงานของโรงงาน
  • เข้าถึงชุมชนรอบโรงงานผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจชุมชน กิจกรรมตรวจสอบและประเมินข้อร้องเรียน กิจกรรมเยี่ยมจุดตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม กิจกรรมไตรภาคีและกิจกรรมเครือข่ายเพื่อนบ้านมิตรผล โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีส่วนร่วมกับการรับรู้การจัดการของโรงงาน
  • การพัฒนาโครงการเพื่อสังคม
  • พัฒนาชุมชนรอบโรงงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน โครงการด้านสร้างเศรษฐกิจชุมชน โครงการด้านส่งเสริมกีฬาและสุขภาวะที่ดี โครงการด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 มีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน
  • การสนับสนุนการทำงานภายใต้แนวคิด MIND: ปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ของกระทรวงอุตสาหกรรม
  • การเยี่ยมจุดตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ปีละ 2 ครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนถึงกระบวนการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงงาน
  • การจัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชน เพื่อแจ้งข่าวสารและการดำเนินงานผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงาน ติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และรับรู้ความต้องการ ความกังวลใจของชุมชน ปีละ 2 ครั้ง
  • จัดทำโครงการขยะชุมชน ที่โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา เดือนละ 1 ครั้ง
  • จัดกิจกรรมเฝ้าระวัง สุ่มตรวจ และป้องกันอุบัติเหตุตลอดช่วงฤดูหีบอ้อย
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ผ่านโครงการตรวจสุขภาพชุมชน ปีละ 1 ครั้ง
  • สนับสนุนกิจกรรมภายใต้โครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ในพื้นที่
  • อุทยานมิตรผลด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
  • อุทยานมิตรผลภูเขียว จ.ชัยภูมิ
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการในการจัดทำแผนปฏิบัติการการ พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566- พ.ศ.2570) ซึ่งเป็นการขอความคิดเห็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของอุทยานมิตรผลด่านช้าง ได้แก่
    • โครงการเปลี่ยนระบบบำบัดน้ำเสียแบบผึ่งเป็นแบบ Activated sludge
    • โครงการติดตั้ง Floating solar
    • โครงการเปลี่ยนเชื้อเพลิงรถโฟร์คลิฟท์จากดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้า
  • ส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ของอุทยานมิตรผลภูเขียว ได้แก่
    • การตรวจสุขภาพชุมชนประจำปี
    • โครงการสานเสวนาชุมชน (เยี่ยมบ้านสานสัมพันธ์ชุมชนรอบโรงงาน)
    • โครงการมิตรอาสา (สร้างถิ่นให้น่าอยู่)
    • โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • โครงการเยี่ยมชมการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน
    • โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาบ้านภูดิน (มิตรผลอุปถัมภ์)
  • การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษา 

    การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษาของมิตรผล มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รอบโรงงาน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาไทย ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนร่วมกับสถานศึกษา การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะสำหรับนักเรียนและครูเท่านั้น แต่ทุกคนในชุมชนยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้ง ใช้งาน สืบค้นความรู้และข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการเรียนและการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์กันของทุกฝ่ายในชุมชน นำไปสู่บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หรือ ‘Learning Ecosystem’

    กรอบการดำเนินงาน

    เป้าหมาย
    ยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รอบโรงงาน
    แนวทางการดำเนินงาน
    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้
  • ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่จำเป็น ทั้ง Hardware Software และ Digital Literacy
  • การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
  • อบรมพัฒนาครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ/สมรรถนะ
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพตามบริบทท้องถิ่นแก่นักเรียน
  • สร้างสมรรถนะวิชาชีพแก่นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาตามมาตรฐานสากล โดยร่วมกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
  • สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
  • ผลการดำเนินงาน

    การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษาของมิตรผล ดำเนินงานภายใต้โครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) โดยมีสถานศึกษาในความดูแล ทั้งประเภทโรงเรียนและวิทยาลัยอาชีวศึกษา ตามรายละเอียด ดังนี้

    โครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

    เป้าหมาย
    ต้นแบบโรงเรียนคุณภาพของชุมชน

    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้

    • สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ICT Talent 3 คน ดูแลโรงเรียน 9 แห่ง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • ส่งเสริมให้ “ผู้สอนและผู้เรียน” ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูล และการออกแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมืออาชีพ ผ่านโครงการส่งเสริมความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี Google สร้างครูแกนนำที่ผ่านการรับรอง Google Certified Educator จำนวน 60 คน
    • สร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ผ่านโครงการ Digital Classroom : Google For Edutainment ที่สนับสนุนคอมพิวเตอร์มือสองจำนวน 266 เครื่อง มอบแก่โรงเรียนในโครงการฯ ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ

    • จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
    • จัดอบรมพัฒนาทักษะการสอนและการจัดทำสื่อการสอนสำหรับครู เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลาย
    • สนับสนุนครุภัณฑ์เพื่อการศึกษา สื่อเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียน หนังสือเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด หนังสือเรียน และคู่มือการสอนตามแนวของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) รวม 950,000 บาท
    • อบรมทักษะการโค้ชของคุณครู เพื่อสร้างห้องเรียนเชิงบวก รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการคิด (Critical Thinking) ให้กับนักเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ชจากสถาบัน BE Management Coach โดยมีคุณครูที่ผ่านการอบรมและสอบปฏิบัติจำนวน 16 คน

    การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ

    • สนับสนุนการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อวางรากฐานด้านทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน เช่น การเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

    การพัฒนาด้านทักษะชีวิต

    • สนับสนุนการจัดกิจกรรม “SP Field Challenge” เสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการจัดการศึกษาผ่านกระบวนการชวนคิด ชวนสร้าง ชวนเสริม
    • สนับสนุนการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ “รวมกันสร้างสรรค์ นิทานสร้างได้” โดยเป็นการประกวดแต่งและเล่านิทานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 โรงเรียน

    โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

    มิตรผลมีเป้าหมายในการสร้างต้นแบบด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษารูปแบบใหม่ และยกระดับวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น ให้เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาชั้นนำด้านเกษตรอุตสาหกรรม ระดับอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (Learning Ecosystem) ซึ่งประกอบด้วย 

    มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้

    ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 

    ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู

    ให้มีทักษะการสอนที่จำเป็นสำหรับจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration) การสื่อสารและนำเสนอเป็น (Communication) ทักษะแห่งอนาคต ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และทักษะด้านเทคโนโลยี 

    พัฒนาด้านทักษะอาชีพ

    ที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้รับการวางรากฐานทักษะอาชีพที่ดีสำหรับอนาคต  

    ปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสร้างแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน

    เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ 

    ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน

    โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน 

    เป้าหมาย
    ต้นแบบโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษารูปแบบใหม่
    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้
    ด้านการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
    สนับสนุนสื่อการสอน โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน สื่อตกแต่งชั้นเรียน และอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อการสอนพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
    ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
    สนับสนุนห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนหุ่นยนต์ โปรเจ็คเตอร์ และโทรทัศน์ในห้องเรียน ชุดเครื่องเสียง
    ด้านแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
    สนับสนุนห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องฝึกปฏิบัติการทักษะอาชีพ สนามเด็กเล่น พื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ในร่มและกลางแจ้ง ห้องสมุด
    ด้านสื่อการสอนและสื่อเสริมการเรียนรู้
    พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ได้แก่ อุปกรณ์ Clicker จำนวน 450 เครื่อง แก่โรงเรียน 5 แห่ง อุปกรณ์ Robotics and Coding แก่โรงเรียน 5 แห่ง
    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
    ด้านดิจิทัล
  • พัฒนาทักษะครูในการใช้ Google เพื่อการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการรับรองความเชี่ยวชาญการใช้ Google สำหรับนักการศึกษา (Google Certified Educator) ระดับ 1 และ 2 โดยมีคุณครูได้รับการรับรอง จำนวน 99 คน
  • โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม ได้รับคัดเลือกให้จัดตั้ง Google Educator Groups (GEG ราชบุรี) เป็นกลุ่มที่ 25 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มผู้สอนที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อขยายผลการใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา
  • ด้านภาษาอังกฤษ
  • ยกระดับคุณภาพครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและครูประจำชั้นในโรงเรียนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ให้มีทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages)ซึ่งเป็นเกณฑ์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ รวมจำนวน 33 คน 
  • ส่งเสริมให้นักเรียนมีสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษระดับ A1 โดยจัดคาบเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยมีครูชาวต่างชาติสอนร่วมกับครูประจำวิชา ซึ่งได้เริ่มนำร่องในโรงเรียน 3 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ด้าน Soft Skill
  • หลักสูตร “7 อุปนิสัยสำหรับนักการศึกษาผู้มีประสิทธิผลสูง” เพื่อพัฒนาผู้บริหารและคุณครู จำนวน 40 คน
  • ด้านวิชาการอื่นๆ
  • การสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
    • Reskill การสร้างสื่อการสอนและ Upskill การสร้างสื่อด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้กับโรงเรียน 4 แห่ง และสร้างครูแกนนำจำนวน 60 คน
    • สร้างคลังนวัตกรรมสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกประจำโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
    • ขยายผลการอบรมการสร้างสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปยังโรงเรียนอื่นๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาของตนเองจำนวน 32 แห่ง และสร้างครูต้นแบบได้จำนวน 151 คน
  • Clicker นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก 
    • การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ด้วยการใช้อุปกรณ์ Clicker ระดับประถมศึกษาทุกรายวิชา จำนวน 3 โรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและขยายผลไปยัง 2 โรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 3
    • การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ Clicker ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เช่น การเลือกตั้งประธานนักเรียน การประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ เป็นต้น 
  • Robotics and Coding 
    • สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนหุ่นยนต์ประจำโรงเรียนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
    • ร่วมมือกับชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลกรับใหญ่ จ.ราชบุรี เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนรู้วิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย (ภาคกลาง) และการจัดการแข่งขัน MITR PHOL KRABYAI RATCHABURI GRAND ROBOTICS CHAMPIONSHIP 2023 ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ และการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้าน Robotics and Coding
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ
    ค้นหาความเป็นเลิศ (Excellence) เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ 
  • ส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพตามความสนใจของนักเรียน และตามบริบทของพื้นที่ของโรงเรียน ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 7 แห่ง
  • สร้างการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน และผู้ปกครอง ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาชีพร่วมกัน
  • ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านทักษะอาชีพ เช่น การประกวดทักษะอาชีพ การจัดแสดงผลงาน การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเทศกาลต่างๆ
  • โรงเรียนเตรียมอนาคต (Career-Based Academy) 
  • จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเตรียมความพร้อมศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ ครูวิทยาลัยฯ และคุณครูจากโรงเรียนในเครือข่าย
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
    โครงการมิตรอาสาเพื่อการศึกษา
    ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีจิตอาสาได้ทำประโยชน์ต่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 
  • ระดมทุนเพื่อสนับสนุน นิทานรัก(ษ์)โลก จำนวน 700 เล่ม สำหรับเสริมการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม แก่โรงเรียน 16 แห่ง รวมเป็นเงิน 72,000 บาท
  • กิจกรรม มิตรแบ่งปัน ระดมพลังแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญของตนเอง ด้วยการร่วมกันจัดทำหลักสูตรระยะสั้น เตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา จำนวน 5 หลักสูตร
  • กิจกรรม Mitr Phol Knowledge Sharing จำนวน 7 ครั้ง เพื่อแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจแก่คุณครูและนักเรียน
  • กิจกรรมมิตรอาสาเพื่อการศึกษา : มิตรแบ่งปัน ชุดนี้พี่ให้น้อง ระดมทุนจัดซื้อเครื่องแต่งกายและของรางวัลสำหรับจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ รวมเป็นเงิน 202,000 บาท
  • กิจกรรม MITR Love You จำหน่ายผลิตภัณฑ์โรงเรียนที่เกิดจากการส่งเสริมทักษะอาชีพ กระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สู่การต่อยอดการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ รวมเป็นเงิน 33,560 บาท
  • ทุนการศึกษา
  • สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการดำรงชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมเป็นเงิน 1,526,000 บาท
  • โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project): วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น

    มิตรผลมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาลัยฯ ให้เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำระดับอาเซียน การสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาด้านเกษตรอุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะสูงและมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยในปี พ.ศ.2566 มีการดำเนินงาน ดังนี้

    เป้าหมาย
    พัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น ให้เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำด้านเกษตรอุตสาหกรรมระดับอาเซียน
    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
    จัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management: CVM)
    เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและมีความสอดคล้องตามบริบทเชิงพื้นที่ ตรงกับความต้องการกำลังคนของประเทศของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 โดยพัฒนาใน 4 สาขา ได้แก่
  • สาขาเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มและการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่
  • สาขาอากาศยานเพื่อการเกษตร
  • สาขาเทคโนโลยีการผลิตเกษตรอุตสาหกรรม
  • สาขาการจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม
  • ความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำประเทศจีน
  • ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคนิคภาคอุตสาหกรรมกว่างซี จัดตั้ง “สถาบันช่างฝีมืออุตสาหกรรมน้ำตาลไทย-จีน” (China-Thailand Institute of Modern Craftsmanship of Sugar Industry)
  • ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคไฟฟ้ากว่างซี จัดตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคด้านพลังงานไฟฟ้าสมัยใหม่” (Modern Electric Technician College) เพื่อพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน ครู บุคลากร และนักศึกษา ตลอดจนการพัฒนาพนักงานของมิตรผล
  • ความร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำในประเทศ
  • มิตรผลได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา ได้แก่ บริษัท เรียล โซลูพลัส จำกัด, บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท พาวเวอร์ อโกรเทค (ประเทศไทย) จำกัด
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ
    พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพแบบเยอรมัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในการจัดทดสอบสมรรถนะของนักศึกษา
  • พัฒนาสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนาภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการฟังและการอ่าน ตามมาตรฐานภาษาอังกฤษเทียบเท่า TOEIC
  • พัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะด้านฮาร์ดแวร์ การใช้โปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป โดยนักศึกษาที่ผ่านการประเมินและรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และร่วมงานกับกลุ่มมิตรผลจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
    สนับสนุนทุนการศึกษา
  • ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 – พ.ศ.2566 สนับสนุนทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 93 ทุน รวมเป็นเงิน 2,790,000 บาท
  • สนับสนุนทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตลอดการศึกษา 3 ปี จำนวน 26 ทุน รวมเป็นเงิน 780,000 บาท
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานของวิทยาลัย
  • สนับสนุนงบประมาณสำหรับพัฒนาวิทยาลัย จำนวน 389,165 บาท เพื่อใช้สำหรับสร้างลานกีฬา ปรับระบบผลิตน้ำดื่ม/โรงกรองน้ำ และปรับปรุงห้องประชุมของวิทยาลัย
  • สนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการกับชุมชน
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และบูรณาการกับกิจกรรมในชุมชน
  • Mitr Phol Group Sustainability
    Privacy Overview

    This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.