Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

มิตรผลดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของความยั่งยืน “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติและประกาศนโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้พิจารณาทบทวนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีความชัดเจน เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักการความยั่งยืนในระดับสากล และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ทุกธุรกิจของมิตรผลนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

กรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

ด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมคงอยู่

ด้านสังคม

ชุมชนยั่งยืน

ด้านการกำกับดูแลกิจการ

องค์กรโปร่งใส ผสานความร่วมมือ

นโยบายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • มุ่งมั่นดำเนินงานภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions)ภายในปี 2050 ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าของกลุ่มมิตรผล
  • สนับสนุนการผลิต การใช้ และการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนในองค์กร เพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • มุ่งมั่นบริหารทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำการเกษตร และในกระบวนการผลิต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำเสีย ให้มีคุณภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยนวัตกรรมการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการใช้ “เปลี่ยนสิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่า” (From Waste to Value) รวมทั้งกระบวนการการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
  • มุ่งมั่นส่งเสริมและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการปลูก ป้องกัน ลด ฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่าไม้ และการจัดการเกษตรรูปแบบใหม่

  • ด้านสังคม

  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหาร และดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคของสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
  • สร้างงาน สร้างโอกาส และรายได้อย่างมีคุณค่าให้กับคนในชุมชนและท้องถิ่น
  • เคารพสิทธิมนุษยชน ยกระดับความรู้ ความสามารถ ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

  • ด้านการกำกับดูแลกิจการ

  • ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และรอบด้านในทุกมิติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส
  • มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนเป้าหมายและนโยบายของประเทศ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม

  • โครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    มิตรผลวางโครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อความยั่งยืน ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกำหนดให้มีการจัดประชุมทุกไตรมาส โดยมีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

    1. กำหนดนโยบาย เป้าหมายและกลยุทธ์ รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ กฎหมาย แนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล รวมถึงทิศทางด้านความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศ และสากลอย่างเหมาะสม
    2. พิจารณา สนับสนุนและทบทวนแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการของหน่วยธุรกิจ ให้บูรณาการเข้ากับกระบวนการและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
    3. ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และให้การสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการขององค์กร เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


    โดยมีด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน ภายใต้สายงานบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของทุกธุรกิจเพื่อร่วมกันดำเนินงานตามแนวทางที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดและมีความเชื่อมโยงสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้บรรลุเป้าหมายและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

    การกำหนดประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

    มิตรผลประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนตามหลักการของ Double materiality เป็นประจำทุกปี โดยประเมินระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสในการเกิดผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางธุรกิจของมิตรผลที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและผลกระทบที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต โดยพิจารณาใน 2 มุม

    คือ มุม Outside-in หรือผลกระทบที่มีต่อบริษัท อาทิ ผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ตำแหน่งทางการตลาด และการสร้างมูลค่า และมุม Inside-out หรือผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก โดยรวบรวมและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของมิตรผลเทียบเคียงกับมาตรฐานด้านความยั่งยืนระดับสากล GRI Standard : Agriculture Aquaculture and Fishing Sectors 2022 และประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของมิตรผลในปี 2565 และผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น เกษตรกร ชุมชน คู่ค้า ลูกค้าและผู้บริโภค พนักงาน และภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับทุติยภูมิ เพื่อนำความคิดเห็นมาจัดลำดับความสำคัญ และวางแนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

    ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

    a. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและบริหารความเสี่ยง
    b. ดิจิทัลและเทคโนโลยี
    c. การบริการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
    d. นวัตกรรม
    e. กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    f. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
    h. เศรษฐกิจหมุนเวียน
    i. การสนับสนุนชุมชนและสังคม
    j. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    k. แนวปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
    l. การดูแลรักษาพนักงาน
    m .การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
    และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    r. ความหลากหลายทางชีวภาพ
    s. ความสัมพันธ์กับลูกค้า

    การนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืน

    ประเด็นด้านความยั่งยืน<br>และระดับของผลกระทบ
    หัวข้อที่นำเสนอ
    เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    a. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง
  • การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจ
  • การบริหารความเสี่ยง
  • b. ดิจิทัลและเทคโนโลยี
  • ความปลอดภัยของข้อมูล
  • c. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • d. นวัตกรรม
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • e. กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการพลังงาน
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • f. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • h. เศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
  • การบริหารจัดการเพื่อลดการสูญเสียอาหาร
  • บรรจุภัณฑ์
  • i. การสนับสนุนชุมชนและสังคม
  • สังคมและชุมชน
  • j. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารจัดการพนักงาน
  • k. แนวปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
  • การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
  • l. การดูแลรักษาพนักงาน
  • การบริหารจัดการพนักงาน
  • m. การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • การบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • r. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • s. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • ลูกค้าและผู้บริโภค
  • การสนับสนุนการดำเนินงานและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ

    มิตรผลให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและภาคีที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรในการขับเคลื่อนประเทศและเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานขององค์กรต่างๆมีความสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของมิตรผล โดยมุ่งหวังว่าการดำเนินธุรกิจของมิตรผลจะบรรลุเป้าหมายและช่วยสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

    บริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์กรหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของมิตรผลด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการที่สำคัญ คือ

    1. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงานในประเทศไทย โดยร่วมกับสมาคมการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหน่วยงานราชการ ชาวไร่อ้อย และภาคเอกชน ในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงานให้มีเสถียรภาพในเรื่องของปริมาณน้ำตาลและราคาน้ำตาล การคงไว้ซึ่งระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดความเป็นธรรมระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย การส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจให้กับไฟฟ้าจากชีวมวลและเอานอล เพื่อทำให้ชาวไร่อ้อยมีความมั่นคงในอาชีพปลูกอ้อย บริษัทจึงได้รับประโยชน์จากความมั่นคงทางวัตถุดิบ โดยมิตรผลได้สนับสนุนไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 11.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64.99 ของงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ.2566
    2. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย โดยมิตรผลเข้าร่วมเป็นสมาชิก รวมถึงส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการ กับสมาคมหรือสถาบันต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความรวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนและการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วมในโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ สอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของมิตรผล ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ซึ่งเป็นการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร โดยมิตรผลได้สนับสนุนไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.01 ของงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ. 2566
    Mitr Phol Group Sustainability
    Privacy Overview

    This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.